Dynamic , (BA) , หรือ Electrostatic มันคืออะไร ? วันนี้ผมมีคำตอบ

อย่างที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าเสียงเกิดจากแรงสั่นสะเทือน เสียงแต่ละเสียงมีความแตกต่างกัน
ไม่ว่าจะเป็น เสียงสูง-เสียงต่ำ, เสียงดัง-เสียงเบา, หรือคุณภาพของเสียงลักษณะต่างๆ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง วันนี้กระผมก็จะมาเล่าให้ฟังอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับ
แหล่งกำเนิดเสียงของหูฟัง นั้นก็คือ Driver
Driver ของหูฟังในปัจจุบันก็มีอยู่หลายแบบหลายประเภท แต่ในวันนี้ผมจะมาพูดถึง Driver
ที่ได้รับความนิมยม นำมาใช้ หรือนำมาเป็นส่วนผสมในการทำหูฟัง ในวันนี้ผมก็จะมาเล่าให้ฟังด้วยกัน 3 แบบ
- Dynamic Driver
- Balanced Armature (BA)
- Electrostatic Driver
Dynamic Driver เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมใช้ในการทำหูฟังกันมายาวนาน นิยมใช้ในหูฟังแบบ
In-ear , ear-bud จนไปถึง หูฟังแบบ Full-Size ลักษณะการทำงานของ Dynamic Driver
จะคล้ายกับการทำงานของดอกลำโพงบ้าน เหมือนการย่อลำโพงใหญ่ๆ ให้เล็กลง เพื่อมาทำเป็นหูฟัง
รูปร่างหน้าตาของมันก็จะกลมๆหน่อย ส่วนผสมของ Dynamic Driver จะแบ่งหน้าที่การทำงานหลักๆเป็น 3 ส่วน

นั้นก็คือแม่แหล็ก (Magnet) ,ขดลวด (voice coil) , แผ่นทองแดง (Diapham)
การทำงานนั้นจะเริ่มจากการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังตัว voice coil เพื่อแปลงกระแสไฟฟ้า
ให้ขั้วแม่แหล็กไฟฟ้า เกิดการขยับตัว ทำให้เกิดเสียงตามการขยับตัวของ Diapham
โดยส่วนใหญ่เสียงที่ได้จาก Dynamic Driver จะครอบคลุมทุกย่านเสียงมีความไหลลื่นของเสียง ให้เสียงที่ฟังดูธรรมชาติ
ตัวอย่างหูฟังที่ใช้ Driver แบบ Dynamic Driver คงหนีไม่พ้น Final Audio ไม่ว่าจะเป็นแบบ In-ear รุ่น E1000 , E2000 ,E3000 จนไปถึงหูฟังขนาด Full-Size รุ่นใหญ่ๆ และอีกแบรนด์ Hi-end ที่ได้รับรางวัลมากมายอย่าง Dita Audio เป็นต้น
Balanced Armature (BA) เป็น Driver ที่มีมานานพอสมควร เดิมนิยมใช้ในส่วนของเทคนิคการแพทย์หรือเครื่องช่วยฟัง แต่ในปัจจุบันนิยมเอามาใช้อยู่ในหูฟัง In-ear อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็น Driver ที่มีขนาดเล็ก ไม่กินพื้นที่ของตัวหูฟังสามารถจูนเสียงปรับแต่งได้หลากหลาย กินกำลังขับน้อย

ส่วนประกอบหลักจะประกอบด้วย Coil , Drive Rod , Diapham , Magnet , Armatureหลักการทำงานจะคล้ายกับ Dynamic Driver คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปที่ตัว Coil ที่เชื่อมต่อกับ Armature เมื่อตัว Armature ขยับตัว Drive Rod จะกรองคลื่นความถี่การขยับขึ้นลงไปยัง Diapham ก่อกำเนิดให้เกิดเสียงอันไพเราะ ข้อดีของไดร์เวอร์ชนิด (BA) สามารถใส่ไดร์เวอร์ลงไป ในหูฟังได้ทีละหลายๆตัว เนื่องจากมีขนาดเล็กและกินกำลังขับน้อย โดยปกติที่นิยมใช้ก็จะเห็นตั้งแต่
1-10 (BA) ในแต่ละตัวก็จะแบ่งการทำงานออกไป เช่น ย่านเสียง สูง , กลาง , ต่ำ
โดยมีคอร์สโอเวอร์หรือแผงวงจรที่คอยควบคุมไดร์เวอร์ทั้งหมด คุณลักษณะเสียงก็จะมีความแม่นยำ คม ชัด ใส
สำหรับหูฟังที่จูนคอสโอเวอร์แบบ (BA) ออกมาได้ดีให้เสียงที่สมูธไหลลื่นไร้สากเสี้ยน
คงหนีไม่พ้น Fearless Audio หูฟังจากแดนมังกร ที่เลือกใช้ Driver จากค่าย Knowledge และ Sonion กับการจูนนิ่งคอสโอเวอร์ระดับ Hi Technician Sound ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของซาวด์ที่ไม่เหมือนใคร มีความชัดเจนในตัวตนของเสียง
Electrostatic Driver เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันนิยมใช้อยู่ในหูฟัง Full-size ที่กินกำลังขับพอตัว
ที่ต้องใช้ Head phone amp ช่วยในการขับกระแสไฟฟ้า ในส่วนของ Driver จะประกอบด้วย
แผ่นแม่แหล็ก (Charged membrane) , Diapham , Grids or startors

หลักการทำงานประจุไฟฟ้าจะถูกส่งไปอาบอยู่ที่ผิวของ Charged membrane เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้น
ทำให้ประจุไฟฟ้าเกิดแรงผลักหรือดึงดูดกัน ทำให้แผ่น Diapham ขยับและเกิดเสียง
ข้อดีของไดร์เวอร์ชนิดนี้จะฟ้องรายละเอียดได้ดี ลดการบิดเบือนของคลื่นความถี่เสียง มีความแม่นยำสูง
โดยปัจจุบันมีการพัฒนาต่อยอดสร้างขึ้นเพื่อใช้งานกับหูฟัง In-ear monitor ยกตัวอย่างที่เห็นอยู่จะมีแบรนด์
Fearless Audio ใน series Paladin ที่ใช้ไดร์เวอร์แบบ Electrostatic จากค่าย Sonion สำหรับ Series Paladin จะมีด้วยกัน 3 รุ่น Lahire , Roland , Lancelot เป็น 3 รุ่นที่ฟ้องรายละเอียดเสียงได้ดี และมีความโดดเด่นในคาแรคเตอร์
สุดท้ายก่อนจากกันไปก็จะบอกว่า การเลือกใช้ Driver ในแต่ละแบบจะดีหรือไม่ดี มันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Driver
เพียงอย่างเดียวสิ่งสำคัญยังมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมาย เช่น สาย(Cable) ปลั๊ก หรือขั้วที่ใช้
จนไปถึงการจูนนิ่งของเสียง การวางท่อนำเสียง การวางไดร์เวอร์ เพื่อให้เกิด อคูสติกซาวด์ของห้องเสียงที่ดี
ยังไงเจอกันคราวหน้า มีสาระดีๆเกี่ยวกับหูฟังมาเล่าให้เพื่อนๆฟังอีกแน่นอน
บทความโดย
สมเจตน์ iconic
(ขนาดหลอดยังมีรู สาระความรู้ต้องมีครู)
ใส่ความเห็น